หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวพุธ Mercury

ดาวพุธ Mercury




        ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ  ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์  87.969  วัน  ดาวพุธมักปรากฎใกล้ หรืออยู่แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก  ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร  ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้  คือ ยานมาริเนอร์ 10  เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518  (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
        ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทรืเป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนานใหญ่ทำให้เกิดสนานแม่เหล็กความเข้มข้นประมาร 1 เปอร์เซ็นต์ ของสนานแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
        ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์ของดาวพุธ  เป็นรูปคทาของพระเจ้าเมอคิวรี  ก่อนศตวรรทที่ 5  ดาวพุธมีชื่อ  2  ชื่อ  คือ เฮอร์เมส  เมื่อปรากฎในเวลาหัวค่ำ และ อพอลโล เมื่อปรากฎในเวลาเช้ามืด เชื่อว่า พีทาโกรัส เป็นคนแรกที่ระบุว่าดาวเคราะห์ทั้ง 2 เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน

รูปสัญลักษณ์ของดาวพุธ


        ดาวพุธจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์เพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านหนึ่งจะไม่ได้รับแสงสว่างเลย จึงได้ฉายาว่า "เต่าไฟแช่แข็ง"เพราะด้านที่รับแสงสว่างจะร้อนจัด และด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่างจะเย็นจัด
        ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก   และโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูงมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ  แต่หมุนรอบตัวเองค่อนข้างช้า โดยใช้เวลารอบละ 59 วัน ดาวพุธมีทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมากที่สุด  ที่พื้นผิวของดาวพุธด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงสุด  467 ํC ในขณะที่ด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่าง  อุณหภูมิจะลดลงเหลือเพียง -183ํC  จะเห็นได้ว่าด้านที่รับแสงสว่างของดาวพุธจะร้อนจัดมาก  ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่างจะเย็นจัดมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะดาวพุธไม่มีบรรยากาศที่จะดูดกลืนความร้อนเหมือนโลกของเรา



โครงสร้างของดาวพุธ






       เปลือกชั้นนอกของดาวพุธ  เป็นหินแข็งชั้นบางๆ   มีหลุมอุกาบาตมากมาย  คล้ายกับดวงจันทร์ของเรา แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าดวงจันทร์  ทำให้สนามแรงดึงดูดมากกว่า  อุกาบาตที่ชนจึงรุนแรงกว่า  หลุมบ่อของดาวพุธจึงลึกมากและมีเศษกระจายรอบปากหลุมมากมาย

       เปลือกชั้นในเป็นหินซิลิเกต  แกนกลางมีขนาดใหญ่ราว  80  เปอร์เซนต์ของดาวทั้งหมด  ประกอบด้วยเหล็กและนิเกล  ในสภาพหลอมเหลว เพราะดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก สนามแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดวงอาทิตย์ทำให้แกนในของดาวพุธคุกลุนอยู่ตลอดเวลา  






       บรรยากาศของดาวพุธ   บรรยากาศเบาบางมากประมาณ หนึ่งในร้อยล้านของบรรยากาศบนโลก  ประกอบด้วย  ออกซิเจน  56% โซเดียม 35%  ฮีเลียม 8% โปรตัสเซียมและไฮโดเจน 1% ธาตุ โซเดียมและโปรตัสเซียม จะมีเฉพาะเวลากลางวัน  ส่วนในเวลากลางคืนธาตูเหล่านั้นจะถูกดูดซึมลงบนชั้นหิน

        อุณหภูมิบนดาวพุธ  ด้วยเพราะเหตุว่าดาวพุธนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงทำให้อุณหภูมิบนดาวพุธสูงมาก  โดยเฉลี่ยในเวลากลางวัน สูงถึง 430  องศาเซลเซียส(สามารถหลอมตะกั่วได้)  ส่วนในเวลากลางคืนดาวพุธ  ไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มเพื่อเก็บความร้อนทำให้อุณหภูมลดต่ำลงถึง -180 องศาเซลเซียส  และด้วยปรากฎการณ์ที่การหมุนรอบตัวเองของดาวพุธช้ามาก คือ 58 วัน ใกล้เคียงกับการหมุนของดวงอาทิตย์ คิอ 88 วัน  ทำให้หนึ่งวันของดาวพุธยาวนานถึง 176 วันบนโลก  

         พื้นผิวของดาวพุธ  มีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ  แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่า  มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่าขอบหลุมของดาวพุธจึงเตี้ยกว่าบนดวงจันทร์  





ข้อมูลอื่นๆของดาวพุธ

- ดาวพุธ มีสีเทา เพราะประกอบไปด้วยหิน
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4,880  km
- ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธ 58,000,000  km
- ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดาวพุธ 92,000,000  km
- เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์  88  วันของโลก
- ระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง  59 วันของโลก
- ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร